วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Nanotechnology Long-term Impacts and Research Directions: 2000-2020 (1)

ย้อนไปเมื่อปีที่แล้วในขณะที่ผู้เขียนกำลังทำวิทยานิพนธ์พันธุ์ผสมระหว่างประเด็นเรื่องนาโนเทคโนโลยีและประชากร ผู้เขียนได้สมัครเป็นสมาชิกในเครือข่าย Consortium for Science, Policy & Outcomes (CSPO) ภายใต้กรอบการดำิเินินงานของ the Center for Nanotechnology in Society, Arizona State University (CNS-ASU) และได้มีโอกาสนำเสนองานของตนเองในอินเดียปีก่อนก็จากข่าวสารที่ทาง CNS-ASU แจ้งมาให้ทราบนั่นเอง เมื่อวาน ผู้เขียนก็ได้รับเมลล์จาก Administrative Associate ของ CNS-ASU อีกครั้ง เกี่ยวกับว่ากำลังจะมีการสรุป workshop แผนและทิศทางการวิจัยด้านนาโนเทคโนโลยีของสหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยขอให้สมาชิกที่อยู่ในเครือข่าย CNS-ASU (รวมถึงผู้เขียน) ช่วยกันวิพากษ์ข้อสรุปสุดท้ายในบทที่ 13 ของรายงานก่อนที่จะตีพิมพ์ใน springker ซึ่ง workshop ได้มีการจัดทำไปแล้ว 5 ครั้งตลอดทั้งปีทั้งในหลายประเทศ รายงานฉบับนี้จะครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี ได้แก่ แบบจำลอง เครื่องมือ การตั้งมาตราฐาน กระบวนการสังเคราะห์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย น้ำ อาหารและภูมิิอากาศ พลังงาน ยา อุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ ตัวเร่งปฏิกริยา (กำลังมาแรงในวงการนี้) วัสดุศาสตร์ การเตรียมพร้อมด้านทุนมนุษย์ การศึกษา นวัตกรรมและนโยบาย จะเห็นได้ว่าแผนฯ ดังกล่าวครอบคลุมหลายมิติทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยกลุ่มของสมาชิก CNS-ASU ได้นำเสนอประเด็นด้านนวัตกรรมและนโยบายด้านนาโนเทคโนโลยี แต่สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียนคือการเตรียมทุนมนุษย์เพราะเท่าที่ทราบรัฐเพนซิวาเนียประกาศว่านาโนเทคโนโลยีจะเป็นอุตสาหกรรมหลักของรัฐ (โดยเฉพาะการทำ accreditation สำหรับแรงงาน) ซึ่งระหว่างนี้คงต้องคอยดูกันไปว่าผลสรุปจะเป็นอย่างไร แล้วผู้เขียนจะหาโอกาสมานำเสนอในโอกาสต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: