วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข่าวสัมมนาการประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรรมก่อสร้างไทย










(ภาพ precast polymer concrete tile)
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปฟังสัมมนาที่จัดโดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) เรื่อง "การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรรมก่อสร้างและตกแต่งอาคารบ้านเรือน" โดยมีวิทยากรที่ไปให้ความรู้ที่เป็นตัวแทนจากภาครัฐคือผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการของ NANOTEC และตัวแทนภาคเอกชนได้แก่ ผู้แทนสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ผู้แทนอุตสาหกรรมสี ปูนซีเมนต์ เหล็กและสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ โดยหัวข้อการสัมมนาจะมุ่งเน้นชี้ใ้ห้เห็นทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างของโลกและจุดที่ประเทศไทยกำลังยืนอยู่โดยมีนาโนเทคโนโลยีกำลังเป็นฟันเฟืองที่สำคัญตัวหนึ่งของระบบ โดยทางเครือซีเมนต์ไทยและ TOA paint ได้พูดถึง R&D ที่ตนเองกำลังทำอยู่ ประเด็นที่ผู้เขียนได้ถามในที่ประชุมต่อผู้แทนเครือซีเมนต์ไทยและ TOA paint ในวันนั้นเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการใช้วัสดุนาโน เช่น CNT, TiO2, nano silicate, nano cement (EPH)และระบบ lotus effect (microscopically rough, hydrophobic และ hydrophillic surface) ซึ่งคำตอบที่ได้ยังไม่ตรงประเด็นและชัดเจนนัก แต่ก็มีการยอมรับว่ากำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ทางองค์กรให้ความสนใจอยู่ และที่ประชุมให้ความเห็นพ้องว่าการสร้างความตระหนักเป็นเรื่องสำคัญในลำดับแรกสำหรับการเติบโตของเทคโนโลยีนาโนในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่น่าสนใจคือการยกตัวอย่างงานในต่างประเทศว่าญี่ปุ่นและเยอรมันหันมาใช้่เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมก่อสร้างอย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเยอรมันมุ่งใช้เทคโนโลยีนาโนด้านเส้นใยโพลีเมอร์ทดแทนการใช้เหล็กในโครงสร้าง ส่วนญี่ปุ่นเ้น้นใช้ในเรื่อง coating เพื่อลดมลภาวะทางอากาศในเืมือง ตัวแทนภาคสถาปนิกก็ได้กล่าวว่ามีความสนใจในวัสดุนาโนกันอยู่แล้วแต่มีผลิตภัณฑ์ให้ใช้กันได้จำกัดอยู่เมื่อไรที่มีผลิตภัณฑ์ออกมามากๆการใช้ก็คงแพร่หลายมากขึ้น และเสนอว่าผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยเพราะกำลังเ้ป็นกระแสหลักของวงการออกแบบในขณะนี้

อีกประเด็นที่ผู้เขียนได้ีมีโอกาสถาม
ผู้อำนวยการฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการของ NANOTEC ว่า disruptive technology หรือ disruptive change (http://nano-in-thailand.blogspot.com/2007/12/disruptive-technologies-1.html) จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมก่อสร้างหรือไม่ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ในหลายประเทศกำลังถกเถียงในประเด็นดังกล่าวซึ่งค่อนข้างเชื่อว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยมีนาโนเทคโนโลยีเป็นตัวจักรสำคัญ แต่ท่าน ผอ.ก็ยังไม่ได้ใ้ห้คำตอบที่ตรงประเด็นนัก เพียงแต่บอกว่า Grey goo เป็นเพียงทฤษฎีเ่ท่านั้นไม่น่าจะเกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นด้วยกับทุกฝ่ายที่ว่าการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีนั้นทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน จะหวังพึ่งองค์ฺกรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้เพราะเทคโนโลยีนาโนจำเป็นต้องใช้ความชำนาญในแต่ละองค์กรเืพื่อร่วมกันพัฒนา

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สวัสดีครับ : ผมก็เพิ่งสอบหัวข้อผ่านมาเหมือนกันครับ
Thesis (ป.ตรี)สถาปัตยกรรม ครับ เป็นงานวิจัยทางเอกสาร ชื่อ " นาโนเทคโนโลยี กับงานสถาปัตยกรรม

เท่าที่หาข้อมูลมา คอนกรีต ก็มีคุณสมบัติได้หลายอย่าง เช่น ซ่อมแซมตัวเอง , ขจัดคราบสกปรกเองได้ อยากทราบว่าในเมืองไทยมีบริษัทไหนผลิตใช้กันหรือยังครับ

และถ้าไม่เป็นการรบกวน อยากจะขอคำแนะนำว่าจะหาข้อมูลที่เกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง นาโนฯ ได้จากที่ไหนบ้างครับ เพราะเข้ามาดุเว็บไซด์ นาโนเทคโนโลยีและสังคมไทย ได้ความรู้เยอะครับ

ขอบพระคุณอย่างสูง
นักศึกษาครุฯสถาปัตยกรรมลาดกระบัง

rawee_krub@hotmail.com
084-0147927

Thanate Kitisriworaphan กล่าวว่า...

ได้ยินมาว่า งานสถาปนิก'51 ที่ผ่านมามีสินค้าที่เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยีมากกว่า 100 รายการ แต่ส่วนใหญ่ไม่บอกว่าเป็นนาโนเทคโนโลยีหรือเปล่า ประเด็นที่น่าสนใจคงเป็นเพราะนาโนเทคโนโลยีกำลังเป็นปัญหาในเรื่องของความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีที่ผ่านมาเป็นที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการแต่ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจริงหรือไม่ คงทำให้หลายผลิตภัณฑ์ยังไม่กล้าบอกว่าตนเองใช้นาโนเทคโนโลยีในการผลิต ผอ.ฝ่ายถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิชาการของ NANOTEC ได้กล่าวว่าข้อสังเกตว่าเป็นนาโนเทคโนโลยีหรือไม่คือ
1.ใช้เทคโนโลยีในช่วง 1-100 นาโนเมตรซึ่งสายตาปรกติจะมองไม่เห็น (คนจะมองเห็นสารในระดับ 300-400 นาโนเมตรขึ้นไป)
2.สามารถควบคุมความถูกต้องของเทคโนโลยีอย่างแม่นยำ (ส่วนผสมที่ได้จากการประมาณไม่ถือว่าเป็นนาโนเทคโนโลยี เช่น สารละลายในทางเคมีไม่ใช่นาโนเทคโนโลยี)
3.เกิดคุณสมบัติใหม่ๆที่แตกต่างจากคุณสมบัติเดิมๆเช่น การทำความสะอาดตนเองด้วยวิธี photovoltaic, lotus effect, hydrophobia, etc.
กล่าวคือ นาโนเทคโนโลยีต้องประกอบด้วยหลักใหญ่ๆดังกล่าวจึงถือว่าเป็นนาโนเทคโนโลยีที่สมบูรณ์ ฉะนั้นบรรดาผลิตภัณฑ์ Microbial ทั้งหลายก็ถือว่าเป็นนาโนเทคโนโลยีได้ถ้ามีคุณสมบัติดังกล่าว

ส่วนคำถามที่ว่าบริษัทใดบ้างที่มีการใช้่วัสดุนาโน เท่าที่เห็นบริษัทสีเกือบทุกยี่ห้อ(coating)ต่างหันมาพัฒนาเทคโนโลยีตัวนี้กันหมด เช่นเดียวกับวัสดุประเภทคอมพอสิทต่างๆถ้ามีคุณสมบัติพิเศษกว่าเดิมก็ถือว่าใช่ เช่น ทนไฟหรือกลายสภาพได้เมื่อถูกความร้อน บริษัทปูนซีเมนต์ยักษ์ใหญ่ในบ้านเราหลายค่ายก็เริ่มพัฒนามาในทิศทางนี้หมด ผมคงเอ่ยนามในที่นี้ไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะหาว่าโฆษณาให้กัน เท่าที่ทราบตอนนี้มาตราฐาน ASTM และ ISO กำลังปรับเพื่อรองรับวัสดุนาโนอยู่อีกไม่นานประเทศไทยคงต้องปรับตามเช่นกัน ผมว่าถ้าคุณทำการศึกษาคุณสมบัติที่มีการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ทดแทนซีเมนต์ เช่น จีโอพอลิเมอร์ หรือระบบส่องสว่างประเภท OLEDs หรือ WOLEDs ก็น่าจะเป็นเทรนด์ใหม่ในการประยุกต์ให้เข้ากับงานสถาปัตยกรรมในอนาคตได้ วัสดุประเภท TiO2 ฉนวนแบบ Aerogel ต่างๆ liquid crystal ในกระจก, etc. ซึ่งน่าเสียดายที่ยังไม่เห็นหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่ไหนพูดถึงเรื่องนี้ เท่าที่เห็นก็มีที่อเมริกาที่นักศึกษาเทอมสุดท้ายของ Rohd Island ในนิวยอร์กได้เรียนเรื่องการใช้วัสดุนาโนในการออกแบบ