วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับงานวิิจัยด้านนาโน













(ภาพ กระจกทำความสะอาดตนเองของ หน่วยการวิจัยด้านวัสดุนาโน ม.เชียงใหม่)


วัตถุประสงค์ของการตั้งหน่วยวิจัยวัสดุนาโน (the Nanomaterials Research Unit) เพื่อพัฒนาวัสดุในเชิงเศรษฐกิจเช่น
โลหะโครงสร้างนาโน สารกึ่งตัวนำ เซรามิก โพลีเมอร์และสารองค์ประกอบ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตวัสดุที่มีผลต่อภาคอุตสาหกรรมแล้วได้แก่
carbon nanotubes, silicon carbide nanowires และ metal oxide nanowires and nanodots

หน่่วยงานเล็กๆในบ้านเราหลายแห่งกำลังทำสิ่งที่เล็กมากๆแต่มีผลกระทบกับสิ่งที่ใหญ่มากๆ แล้วในฐานะที่เราเป็นผู้ที่อาศัยในหน่วยที่ใหญ่อย่างสังคม หรือหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคมเราก็คือครอบครัว เราตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงเล็กๆเหล่านี้หรือไม่ ถ้าการรับรู้พื้นฐานของเรายังไม่เปิดกว้างเพียงพอ ต่อไปเราคงเข้าใจอะไรที่เล็กๆแต่ใกล้ตัวเราได้ยากเช่นเดียวกัน เหมือนกับวัสดุนาโนซึ่งเล็กมากจนเราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างจากวัสดุชนิดเดียวกันที่เรามองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้กฏวัสดุที่เราเรียนหรือรู้จักมาตลอดต้องเปลี่ยนไป เช่น คอนกรีตที่ดัดโค้งได้และลอยน้ำได้ วัสดุที่หนักกว่าอากาศไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์อย่าง แอโรเจล ผ้าที่สามารถเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และแสดงผลในรูปของภาพ สีและแสงได้ เป็นต้น แล้วเรายังคิดว่าเรื่องนี้ไม่สำคัญที่จะเรียนรู้อีกหรือในเมื่อวัสดุรอบๆเรากำัลังปฏิวัติตัวเองอยู่

ที่มา: http://physics.science.cmu.ac.th

1 ความคิดเห็น:

คาสิโนออนไลน์ กล่าวว่า...

สุดยอดเลยครับ นาโน ติดตามผลต่อไปนะครับ พัฒนาไปเรื่อยๆครับ สู้ๆ