วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

มนุษยชาติกับการก้าวกระโดดของอายุขัย คำทำนายจากนักอนาคตศาสตร์



(ภาพจากหนังตลกเสียดสีที่ว่าด้วยเรื่องของนายเพทย์กับภรรยาที่ไม่ยอมตายเนื่องจากได้ยาที่เป็นอมตะของเขาทั้ง 2 คน)

วิทยาศาตร์พันธุกรรมและการวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดมีความเกี่ยวข้องกับ "อุตสา่หกรรมด้านความเป็นอมตะ" ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ที่อาจจะยืนยาวไปมากกว่า 125 ปีถึง 150 ปี Michael Zey ผู้เขียนหนังสือ Ageless Nation ได้กล่าวถึงปรากฎการณ์ดังกล่าวในงาน the World Future Society's annual conference ในกรุงวอชิงตันเมื่อวานนี้ ไมเคิล กล่าวว่า "ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจิ๋วที่เรียกว่านาโนเทคโนโลยี ซึ่งสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างเซลล์ในร่างกายขึ้นมาใหม่ ณ จุดนี้เราสามารถขว้างความคิดว่าเป็นไปไม่ได้ทิ้งไป" ในขณะที่ Zey กล่าวว่าผลกระทบของการขยายอายุมนุษย์ยังเป็นเรื่องที่คาดเดายาก เช่น นักเรียนอาจได้มีเวลาเรียนรู้อะไรต่างๆได้มากกว่าข้อจำกัดเรื่องเวลาในปัจจุบันเนื่องจากอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ขณะเดียวกันผลกระทบก็อาจจะเกิดต่อชีวิตส่วนตัวและครอบครัว ซึ่ง Fey ได้วิจารณ์ประเด็นดังกล่าว
ในนิตยสารThe Futurist เมื่ออายุขัยของมนุษย์เกิน 125 ปี เราก็คาดหวังว่าจะยังอยู่กับคนที่เรารู้จักใน
ศตวรรษที่ผ่านมาโดยเฉพาะคนในครอบครัวของเราก็เหมือนกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทางการแพทย์ใน
ปัจจุบันซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีเพียงคนที่มีกำลังทรัพย์และความรู้ที่จะสามารถเข้าถึงได้ แต่ Fey ยังไ้ด้ทำนายว่าเทคโนโลยีด้านความเป็นอมตะในอนาคตกำลังเจริญรอยตามเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใน
ปัจจุบันที่ในตอนแรกมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์อย่างจำกัดแต่ในวันนี้คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต
ประจำวันของทุกคนไปแล้ว(แม้แต่ฐานข้อมูลส่วนบุคคลยังบรรจุในรูปแบบของข้อมูลอิเลคโทรนิกส์ทำให้
มนุษย์ในปัจจุบันต้องเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีสารสนเทศโดยปฏิเสธไม่ได้) มูลนิธิ Alcor Life Extension
ได้เริ่ิมโครงการรับฝากร่างกายด้วยราคา US$150,000 ต่อคน แต่ถ้าจะฝากเฉพาะศีรษะก็คิดเพียง
US$80,000 ซึ่งมีผู้เข้าเป็นสมาชิกกว่า 866 คนแล้ว และขยายผลถึงการทำระบบประกันชีวิต โดยมี
สมาชิก 86 คนที่เข้าโปรแกรมนี้ในสำนักงานใหญ่ที่อริโซน่าซึ่งคาดหวังว่าโปรแกรมดังกล่าว
จะเกิดขึ้นเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ความฝันในวงการวิทยาศาตร์การแพทย์ แ่ต่การขยายอายุขัยของมนุษย์ไม่
ใช่แค่เรื่องทางการแพทย์อย่างเดียว แต่เกี่ยวกับวิถีชีวิตด้วย Zey กล่าวอีกว่า โรคต่างๆเช่น โรคอ้วน
โรคระบาด พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการเีสี่ยงต่างๆก็เป็นตัวชี้ว่าการขยายอายุขัยอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่
ดีเสมอไป ซึ่งต้องคิดต่อไปว่าการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นนั้นควรจะเป็นชีวิตที่มีคุณภาพด้วยหรือไม่

สำหรับผู้เขียนเห็นด้วยกับประเด็นสุดท้ายดังกล่าว ลองจินตนาการดูว่าถ้าโลกของเราเต็มไปด้วยคนไม่ีดี
มีอำนาจและสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีอมตะด้วยอำนาจเงินดังกล่าวได้ เช่น เกิดฮิตเลอร์คนใหม่ที่เป็น
อมตะ แล้วเรายังอยากจะมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ไปนานๆร่วมกับคนประเภทนี้หรือเปล่า

ที่มา: www.canada.com

ไม่มีความคิดเห็น: