วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ผลการศึกษาด้านการตระหนักรู้วัสดุนาโนในงานก่อสร้างไทย(1)


วันนี้เป็นวันที่ผู้เขียนกำลังเิดินทางไปนำเสนอผลงานที่กรุงปรากสาธารณรัฐเชคจึงอยากขอนำเสนอผลการศึกษาด้านการตระหนักรู้เกี่ยวกับวัสดุนาโนในงานก่อสร้างไทยตอนที่1ก่อนการสำรวจนี้กระทำโดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามประมาณ1,100ชุดในพื้นที่กรุงเทพ,อยุธยา,ราชบุรี,ชลบุรี,ขอนแก่น,มหาสารคราม,หนองบังลำภู,อุตรดิตถ์โดยให้ีมีการกระจายของข้อมูลครบทุกภาคแต่เนื่องจากข้อจำกัดบางประการจึงขอนำเสนอข้อมูลที่ได้จากกรุงเทพ,ขอนแก่น,มหาสารครามและหนองบัวลำภูโดยมีตัวอย่างทั้งสิ้น676ตัวอย่าง
ก่อนลักษณะตัวอย่างกระจายโดยเก็บข้อมูลเป็นระบบชั้นภูิมิ(stratified random sampling) โดยเก็บเป็นบริษัทก่อสร้างขนาด10-19คน,
ขนาด20-49คนและขนาดมากกว่า49คน(ใช้หลักการกระจายตัวของแรงงานจากการคำนวณแรงงานภาคก่อสร้่างของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี2006)โดยเก็บบริษัทละ10คน(เจ้าของ-ผู้จัดการ,สถาปนิก-วิศวกร,โฟร์แมน-หัวหน้าช่าง,ช่างฝีมือสาขาต่างๆและกรรมกร)อุปสรรคคือช่างและกรรมกรบางรายไม่เข้าใจคำถามในแบบสอบถามหรือให้ข้อมูลไม่ตรง(แก้โดยweightจากข้อคำถามที่ระดับองค์กรและรายบุคคล-คำถามมีการตรวจสอบความแม่นตรงกันเอง)การกระจายแบบสอบถามใช้วิธีสุ่มจากบริษัทที่ให้ความร่วมมือและsnowball sampling ผลการวิเคราะห์พบว่า1.ตัวอย่างมีการกระจายช่วงอายุมัธยฐานที่36ปี(16-70ปี)2.ด้านการตระหนักรู้วัสดุนาโนในงานก่อสร้างพบว่าส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับวัสดุนาโนน้อยทั้งที่แรงงานส่วนมากให้ข้อมูลว่าเคยใช้ผลิตภัณฑ์นาโนในงานก่อสร้าง(>60%)และโดยเฉพาะแทบไม่มีความรู้เกี่ยวกับความเป็นพิษของวัสดุดังกล่าวต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมเลย3.ระดับผู้จัดการ,ช่างฝีมือและกรรมกรรู้จักข้อเสียของวัสดุนาเกี่ยวกับโอกาสในการสะสมและพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสถาปนิก,วิศวกรและโฟร์แมน แต่ภาพรวมทุกระดับมีความตระหนักเรื่องดัวกล่าวน้อยมาก (20-23%)ในคราวต่อไปจะอภิปรายถึงปัจจัยที่ีมีผลต่อระดับการตระหนักรู้ของแรงงานก่อสร้าง เช่น สื่อที่เข้าถึง อิทธิพลของสภาพแวดล้อมสุดท้ายต้องขอขอบคุณผู้ให้ข้อมูลทุกท่าน(ต้องขออภัยที่ไม่สามารถเอ่ยนาม)ที่ให้การสำรวจครั้งนี้ประสบความสำเร็จลงได้ี่

ไม่มีความคิดเห็น: