วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นาโนซิลเวอร์กับความปลอดภัย

ช่วงเวลานี้อาจจะไม่ค่อยได้ี update ข้อมูลใน weblog นี้เท่าไหร่เนื่องจากผู้เขียนกำลังเก็บข้อมูลภาคสนามอยู่ ประเด็นที่มีผู้ให้สัมภาษณ์ถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัสดุนาโนในสินค้าทำใหผู้เขียนย้อนไปถึงงาน "นาโนไทยแลนด์ ซิมโพเซียม 2008" (NanoThailand Symposium: NST2008) ที่จัดงานกันในช่วงปลายปี 51 ที่ผ่านมา ซึ่งกระแส "ซิลเวอร์นาโน" (nanosilver) กำลังแรงในบ้านเราซึ่งทำให้กลายเป็นพระเอกประจำปีนี้เพราะผลงานที่ต่อยอด สู่การใช้งานล้วนเป็นผลจากการประยุกต์ใช้อนุภาคเงิน ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร อาทิ "รถพยาบาลนาโน"ซึ่งเป็นการประยุกต์การทาสีที่ผสมอนุภาคซิลเวอร์นาโนภายในตัวรถเพื่อฆ่าเชื้อโรคซึ่ง รถพยาบาลมีโอกาสสัมผัสอยู่ตลอดเวลาและมีสินค้าอีกหลายรายการที่นำอนุภาคเงินมาประยุกต์ใช้ทำให้คาดว่า อนุภาคเงินนาโนนี้ยังคงเป็นพระเอกของวงการนาโนเทคโนโลยีไทยไปอีกหลายงาน

นอกไปจากงานวิจัยด้านการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทางด้านนาโนเทคโนโลยีแล้ว ยังมีการเปิดเผยงานวิจัยด้านความปลอดภัยของนาโนเทคโนโลยีทยอยออกมาเปิดตัวให้คนทั่วไปได้ตื่นตัว ควบคู่ไปกับกระแสความก้าวหน้า อย่างล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ (University of Edinburgh) สหราชอาณาจักร ได้ทดลองผลของท่อนาโนคาร์บอนที่เกิดขึ้นในหนูทดลอง พบว่าอนุภาคนาโนดังกล่าวทำให้เกิดมะเร็งปอด ได้เช่นเดียวกับมะเร็งปอดที่เกิดจากแร่ใยหิน แต่นักวิจัยยังต้องใช้เวลาอีกระยะกว่าจะระบุได้ว่า ท่อนาโนคาร์บอนแบบใดบ้างที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตท (Arizona State University) สหรัฐฯ ได้ทดสอบว่าอนุภาคนาโนที่เคลือบเส้นใยสิ่งทอหรือผสมในสินค้าต่างๆ สามารถหลุดร่อนออกมาได้หรือไม่ ซึ่งพบว่ามีการหลุดร่อนของอนุภาคนาโนจากสินค้าโดยทีมวิจัยได้ให้ความเห็นว่าอนุภาคนาโนที่หลุดออกมา นั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตตามแหล่งน้ำ ต่างๆ ได้ หากปล่อยน้ำทิ้งที่มีอนุภาคนาโนปนเปื้อนลง แหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งผลการวิจัยทั้งสองก็สอดคล้องกับที่องค์กรในสหราชอณาจักรได้กล่าวเอาไว้ทำให้EPA ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐประกาศถอนการรับรองรายการสินค้าในตลาดอเมริกาที่มีส่วนผสมของ ซิลเวอร์นาโนไปกว่า60รายการแล้วเมื่อปีที่ผ่านมาล่าสุดเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้แคนาดาก็กลา่ยเป็นประเทศ แรกในโลกที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมทางภาครัฐต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดก็ตามที่ผลิตหรือใช้วัสดุนาโน (nanomaterials)มากกว่า1กิโลกรัมในระยะเวลา1ปีต้องจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐถึงวิธีการจัดการการรักษา ความปลอดภัยทั้งขณะผลิตและขนส่งโดยเฉพาะความปลอดภัยของคนงานที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้เขียนคิดว่าคงไม่ ต้องการให้เกิดเหมือนกรณีการประท้วงของคนงานในเบลเยี่ยมต่อการให้ข้อมูลเรื่องการใช้วัสดุนาโนในโรงงาน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของแรงงานเอง
หันกลับมามองที่เมืองไทยอีกครั้งว่าเราตื่นตัวต่อความปลอดภัยจากนาโนเทคโนโลยีแค่ไหนสำหรับคนทั่วไป อาจจะยังไม่ตระหนักว่าใน"ประโยชน์"ของนาโนเทคโนโลยีที่สามารถเนรมิตสารพัดคุณสมบัติมหัศจรรย์ให้ กับผลิตภัณฑ์ต่างๆแล้วยังมี "โทษ" ที่เราอาจยังไม่รู้ตามมาอีกด้วย สำหรับมาตรฐานของสินค้านาโน ณ วันนี้หลังการประชุมที่เซี่ยงไฮ้ได้มีการประกาศมาตรฐานISOและASTMที่ปรับปรุงเพิ่มเติมกรณีวัสดุนาโนซึ่ง ผู้เขียนยังไม่เห็นรายละเอียดแต่จะพยายามติดตามเพื่อนำเสนอต่อไปส่วนมาตรฐานของไทยอย่าง"นาโนมาร์ก" (nanomark)ซึ่งอดีตผู้บริหารศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ(นาโนเทค)ออกมาเปิดเผยเมื่อ2-3ปีก่อนว่า สามารถสร้างฉลากที่ระบุได้ว่าสินค้าได้"มี"หรือ"ไม่มี"นาโนเทคโนโลยีแต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงกลับไม่ง่ายอย่าง ที่กล่าวไว้อีกทั้งผู้ประกอบการทั้งหลายก็เริ่มไม่มั่นใจว่าการแปะฉลากรับรองว่าสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์นาโนนั้นจะ ส่งผลดีหรือเสียทางการตลาดในอนาคตเพราะยังไม่มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่านาโนเทคโนโลยี"ปลอดภัย"หรือ"ไม่ ปลอดภัย"ดังนั้นผู้บริโภคในยุคนาโนเทคโนโลยีอย่างเราๆจึงทำได้เพียง"ศึกษาข้อมูล ให้มาก"ก่อนตัดสินใจ

ที่มา:
SciComm

ไม่มีความคิดเห็น: