วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การประชุมWorld Future Energy Summit 2009

(วีดีโอแนะนำ Masdar City Initiative)
หลังจากสหรัฐอาหรับเอมิเรต(UAE)ไ้ด้ทำการจัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยเรื่องพลังงานที่
เรียกว่า "World Future Energy Summit 2008" ไปเมื่อปลายเดืิอนมกราคมปีนี้ ทาง
ที่ประชุมได้ประกาศจัดการประชุมในปี 2009 ทันทีซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมกราคมเช่นกัน
เนื้อหาของการประชุมในปี2009ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต่อเ้นื่องจากการประชุมในปีนี้อาทิเช่น
นโยบายพลังงาน การลงทุนด้านพลังงาน การก่อสร้างสีเขียว การคมนาคมสะอาด พลังงาน
แสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานทางทะเล แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิิภพ
พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานจากขยะ เซลล์เชื้อเพลิง การจัดการคาร์บอนและยุทธศาสตร์ด้าน
สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ทางUAEไ้ด้เปิดตัวโครงการ
"Masdar City, the world's first carbon-
neutral city" ซึ่งออกแบบและศึกษาโดยสถาปนิกก้องโลกชาวอังกฤษในปัจจุบัน
ลอร์ด นอร์แมน ฟอสเตอร์ ซึ่งมีจุดเด่นคือจะเป็นเมืองที่ขยะและน้ำสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ถึง
99%และใช้พลังงานที่ปราศจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ(zero carbon
emission)
จนลอร์ดฟอสเตอร์ถึุงกับเปรยว่าทำไมประเทศที่มีพลังงานเหลือเฟือจากน้ำมันกลับ
ให้ความ
สนใจต่อการลดใช้พลังงานมากขนาดนี้ ซึ่งผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่าหรือโลกจะเข้าสู่
ยุคของ
Peak Oilตามที่ M. King Hubbert นักธรณีวิทยา ได้ก่อตั้งทฤษฎีเพื่อใช้ทำนายอวสาน
ของการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐว่าจะเกิดขึ้นในปี คศ. 1965-1970 การทำนายที่แม่นยำ
ของเขา เป็นจุดกำเนิดของ Hubbert Peak Theory อันโด่ง

(ดูที่: http://nano-in-thailand.blogspot.com/2008/03/end-of-oil-1.html) อย่างไรก็ตาม
เราคงต้องยอมรับความจริงที่ว่าโลกคงไม่มีวันได้ใช้พลังงานฟอสซิลที่มีราคาถูกได้อีกต่อไป
แล้วไม่ว่าเรื่องPeak Oilจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม และสำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้นำเข้าพลังงาน
ฟอสซิล(น้ำมัน)ซึ่งกำลังเปลี่ยนไปตามหลังมหาอำนาจด้านพลังงานชีวมวลอย่างบราซิลนั้นคง
ต้องคิดหนักระหว่างการจะเป็นครัวของโลกหรือผู้นำการผลิตพลังงานชีวมลของเอเชียดี เพราะ
คงต้องเลือกข้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะปัจจุบันพื้นที่เกษตรก็ลดลงเรื่อยๆจากการขยายตัว
ของเมืองและภาคการค้าการผลิต และสภาพที่เข้าสู่ยุคสังคมสูงอายุของไทยคงเป็นข้อจำกัด
ที่สำคัญสำหรับภาคการเกษตรที่ต้องใช้แรงงานวัยหนุ่มสาวเป็นกำลังในการผลิต ซึ่งหนึ่งในไม่
กี่ทางของทางออกเรื่องนี้คือการใช้่เทคโนโลยีควบคู่กับแรงงานที่ต้องมีทักษะที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
เพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยของประชากรเืพื่อทดแทนกำลังแรงงานที่ลดลงในอนาคต

ที่มา: www.worldfutureenergysummit.com

ไม่มีความคิดเห็น: