วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ถ่านกำมันต์กับการบำบัดน้ำเสีย

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอตุสาหกรรมของประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเพิ่มจำนวน โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ขึ้นมากมาย น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ เพราะสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ต่าง ๆ ที่ปล่อยลงมานั้นมีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต

อุตสาหกรรมการผลิต สิ่งพิมพ์เป็นแหล่งหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำเสียซึ่งประกอบด้วยสารพิษที่เป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โลหะหนัก สีหมึกพิมพ์ น้ำมัน สารเคมี และตัวทำละลาย รวมถึง สารเอทิลินไกลคอล และอนุพันธุ์ซึ่งเป็นสารที่ใช้มากในอุตสาหกรรมการพิมพ์ และการผลิตหมึก ความเป็นพิษของสารประเภทนี้คือ เมื่อสัมผัสถูกผิวหนังจะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และอาจเกิดการซึมผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ หากได้รับสารพิษเป็นเวลานาน จะก่อให้เกิดปัญหารุนแรงต่อตับ ไต ผิวหนัง ทำให้เกิดการแพ้ และทำลายระบบประสาท เป็นอันตรายต่อสมอง

สารเอทิลินไกลคอล และอนุพันธ์ที่ปนเปื้อนออกมากับน้ำเสียนั้นทำการบำบัดได้ยากเนื่องจากมี คุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสียแล้วก็ยังคงเหลือตกค้างอยู่ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมในการกำจัดสารเอทิลินไกลคอลที่อยู่ในน้ำคือการใช้วัสดุ ดูดซับเช่น ถ่านกัมมันต์ แต่ถ่านกัมมันต์ยังคงเป็นวัสดุที่มีราคาแพง และถ่านกัมมันต์ที่มีการผลิตทางการค้า ยังคงมีความจำเพาะในการดูดซับสารประเภทเอทิลินไกลคอลต่ำ ถ่านกัมมันต์ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า แอคทิฟคาร์บอน (active carbon) หรือ แอกทิเวตเทต คาร์บอน (activated carbon) เป็นถ่านที่มีสมบัติพิเศษที่ได้รับการเพิ่มคุณภาพหรือประสิทธิภาพมากขึ้นโดย การใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีสมบัติหรืออํานาจในการดูดซับสูง เนื่องจากมีรูพรุนขนาดเล็กเกิดขึ้นจํานวนมากและขนาดรูพรุนก็แตกต่างกัน ตั้งแต่ระดับไมโครเมตร จนถึงระดับนาโนเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและวัตถุประสงค์ใน การใช้งาน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถ่านกัมมันต์มีหลายชนิด วัสดุที่ใช้เป็นวัตถุดิบมักเป็นพวกอินทรีย์สารซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนและ ไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ ส่วนใหญ่มักเป็นพวกเซลลูโลสที่มาจากพืชและต้นไม้เช่น ไม้ยางพารา ไม้ไผ่ เศษไม้เหลือทิ้ง และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเช่น แกลบ กะลา มะพร้าว ขี้เลื่อย โดยทำการเผาด้วยความร้อนสูงในสภาวะที่ไม่มีอากาศ

โดย รศ. ดร. ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้มีแนวความคิดในการใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตขึ้นจากวัสุดเหลือทิ้งทางการ เกษตร มาทำเป็นตัวดูดซับเพื่อกำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการ วิจัย เนื่องจากประเทศไทยมีวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจำนวนมากที่สามารถนำมาทำเป็น ถ่านกัมมันต์ได้ โดยงานวิจัยนี้ ได้ทำตัวดูดซับชนิดถ่าน และถ่านกัมมันต์ จากซังข้าวโพ เถ้าชานอ้อย เถ้าแกลบ และเปลือกเมล็ดแมคคาเดเมีย ซึ่งเบื้องต้นพบว่ามีประสิทธิภาพในการดูดซับสารเอทิลีนไกลคอล และอุนพันธุ์ ได้สูงกว่าถ่านกัมมันต์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

จึงมีวัตถุประสงค์ จะทำการศึกษากลไกและสถาวะที่เหมาะสมในการดูดซับสารพิษ เพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลพื้นฐานเพื่อการนำไปใช้จริงในการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์อื่น ๆ ปนเปื้อนอยู่ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรทำให้ประเทศ ลดการใช้ถ่านกัมมันต์จากต่างประเทศได้อีกด้วย

ที่มา: www.gsquare.tv

2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แย่นะคับที่ประเทศไทยมีแต่โรงงาน
ทำให้มีแต่สารพิษเยอะแยะไปหมด
ก็ดีนะคับ
ที่รศ.ดร.ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ
ได้คิดค้นถ่านกัมมันต์
จากวัสุดเหลือทิ้งทางการเกษตร
เผื่อจะได้ไม่ต้องไปซื้อจากต่างประเทส
ในเมื่อประเทศไทยเราก็ไม่ได้โง่ไปกว่าประเทศไหนเลย
เทคนิคชล กนกสรณ์ สชฟ2/4 078

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การถ่านกัมมันต์
มี2วิธีคือ
1. การกระตุ้นทางเคมี เป็นการกระตุ้นด้วยการใช้สารเคมี เช่น แคลเซียมคลอไรด์
สังกะสีคลอไรด์ กรดฟอสฟอริก เป็นต้น ซึ่งสามารถแทรกซึมได้ทั่วถึง ทำ ให้ส่วนที่ไม่บริสุทธิ์ละลายหมด
ไปได้เร็วขึ้นจากนั้นนำ ไปเผาในถังที่มีออกซิเจนเป็นเวลาหลายชั่วโมง โดยใช้อุณหภูมิเผาประมาณ
600 - 700 องศาเซลเซียส แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องล้างสารเคมีที่ใช้ในการกระตุ้น ซึ่งติดมากับถ่านกัมมันต์
ออกให้หมดไม่ให้เหลือตกค้างอยู่เลย เพื่อความปลอดภัยในการนำ ไปใช้งาน
2. การกระตุ้นทางกายภาพ เป็นการกระตุ้นด้วยการใช้แก๊ส หรือไอนํ้า ซึ่งใช้อุณหภูมิในการ
เผากระตุน้ คอ่ นข้างสูงประมาณ 800-1000 องศาเซลเซียส เพราะไอน้ำ ที่ใช้จะต้องเป็นไอน้ำ ที่ร้อนยิ่งยวด
(superheated stream)เพื่อทำ ให้สารอินทรีย์ต่างๆสลายไป ทำ ให้โครงสร้างภายในมีลักษณะรูพรุน
(porous) อยูทั่วไป ขนาดของรูพรุนที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าการกระตุ้นทางเคมี ซึ่งถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้น
ด้วยวิธีนี้มีข้อดีที่สามารถนำ มาใช้งานได้เลยทันที โดยไม่ต้องล้างสารที่เหลือตกค้าง
ถ่านกัมมันต์ที่ใช้มีทั้งชนิดผง เกล็ด และเม็ด โดยทั่วไปถ่านกัมมันต์จะใช้ชนิดใดก็ได้ แล้ว
แต่ความเหมาะสมในการใช้งาน ถ่านกัมมันต์ถูกนำ มาใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้ในการ
ฟอกสีในอุตสาหกรรมนํ้าตาล ใช้กำ จัดกลิ่นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม เบียร์ และไวน์ ใช้ในการทำ ตัว
ละลายบริสุทธิ์เพื่อนำ กลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์และอุตสาหกรรมการพิมพ์ ใช้ในการ
ดูดซับสีและกลิ่นในการทำ นํ้าประปา ใช้ในเครื่องกรองนํ้าหรือเครื่องทำ นํ้าให้บริสุทธิ์ที่มีจำ หน่ายอย่างแพร่หลายอยู่ในขณะนี้
กนกสรณ์ เทคนิคชล
สชฟ2/4