วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

นักวิทย์น้อยคิดวิธีบำบัดน้ำเสียจากธรรมชาติ

ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องจากหลายฝ่ายพยายามช่วยกันคิดค้นหาวิธีการแก้ เช่นเดียวกับนักวิทย์น้อยคิดวิธีบำบัดน้ำเสียจากธรรมชาติ ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่นักวิจัยและผู้เกี่ยวข้องจากหลายฝ่าย พยายามช่วยกันคิดค้นหาวิธีการแก้ เช่นเดียวกับนักวิทย์น้อยชั้น ม.6 นาง สาวธารทิพย์ กระเษียรอภิบาล นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (พสวท.) ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ซึ่งปัจจุบันกำลังเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “ผลของตัวกลางต่อการดูดซับ Pb (II) ด้วยเปลือกไข่ เปลือกหอยแครง และเปลือกหอยแมลงภู่” เพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการบำบัดน้ำเสียโดยใช้วัสดุธรรมชาติดังกล่าว โดยจะทำให้ทราบว่าหากมีสารชนิดใดอยู่ในน้ำเสีย จะมีผลต่อตัวดูดซับแต่ละตัวอย่างไร

การทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การเตรียมสารดูดซับ การเตรียมสารละลายและการทดลองการดูดซับ Pb (II) ของวัสดุธรรมชาติทั้ง 3 อย่าง

เริ่มต้นจากการนำเปลือกไข่ เปลือกหอยแครง และเปลือกหอยแมลงภู่มาอบแห้งบดให้ละเอียด จากนั้นเตรียมสารละลายทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง

ส่วน การดูดซับ Pb (II) เริ่มที่ใส่สารละลายลงในขวดสกัดที่มีสารดูดซับแต่ละชนิดอยู่ คนด้วยเครื่องคนแม่เหล็กเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็แยกสารละลายออกจากสารดูดซับโดยใช้การกรองสุญญากาศผ่าน กระดาษกรอง ตรวจหาปริมาณ Pb (II) หลังการดูดซับเปรียบเทียบกับค่าเริ่มต้น แล้วจึงทดลองแบบเดียวกันกับสารละลายชนิดอื่น ๆ

ผลที่ได้ พบว่า การที่มีโซเดียมไนเตรต โพแทสเซียมไนเตรต และโซเดียมแอซิเตต ในสารละลาย Pb (II) ทำให้ความสามารถในการดูดซับ Pb (II) ของสารดูดซับทุกชนิดลดลง ยกเว้นในกรณีที่ใช้เปลือกหอยแครงเป็นสารดูดซับและมีตัวกลางเป็นสารละลาย โซเดียมแอซิเตต

นอกจากนั้นยังพบด้วยว่า การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับ Pb (II) ของสารดูดซับทั้ง 3 ชนิดในทุก ๆ สารที่ใช้ทดลอง ปรากฏว่าเปลือกหอยแครงมีความสามารถในการดูดซับมากกว่าเปลือกหอยแมลงภู่และ เปลือกไข่ตามลำดับ โดยหอยแครงสามารถดูดซับโซเดียมแอซิเตตได้ดีที่สุด.

ที่มา:
www.dailynews.co.th

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เก่งจัง